Mono Amplifier เพาเวอร์แอมป์โมโนจะมีภาคขยายอยู่เพียงแชนแนลเดียว มักใช้ได้ผลดีกับย่านความถี่ต่ำที่หูมนุษย์เองไม่สามารถแยกแยะทิศทางได้ อีกทั้งเพาเวอร์แอมป์โมโนจะสามารถเล่นกับโหลด 2 โอห์มได้อย่างมั่นคง โดยผุ้ใช้สามารถต่อวูฟเฟอร์ 4 โอห์มขนานกัน 2 ตัวได้อย่างสบาย
MOSFET ย่อมาจาก Metal Oxide Semiconductor Field Effect Transistors เป็นทรานซิสเตอร์ที่มีความเร็วในการสวิทช์สูงกว่าทรานซิสเตอร์แบบไบโพล่าร์ และกำเนิดความร้อนในปริมาณที่น้อยกว่ามาก MOSFET จึงให้การตอบสนองที่รวดเร็วและมีประสิทธิผลสูง
Maximum RMS Power Handling การรองรับกำลังขับสูงสุดแบบ RMS จะใช้บ่งบอกให้ทราบถึงจำนวนกำลังขับที่ลำโพงสามารถรองรับได้ในการทำงานอย่างต่อเนื่อง
Peak Power กำลังสุดขีดเป็นหน่วยวัดเมื่อเสียงเพลงเริ่มมีความพร่าเพี้ยน เช่นเมื่อมีการหวดไม้กลองลงบนหนังกลองอย่างฉับพลัน ผู้ผลิตบางรายจะบอกกำลังขับสุดขีดนี้ไว้ในผลิตภัณฑ์ของตน แทนการบอกอัตรากำลังเฉลี่ย(RMS)ที่มีนัยยะมากกว่า และเราอยากแนะนำให้ใช้ข้อมูลนี้เพื่อการตัดสินใจเลือกใช้อย่างเหมาะสม
RMS Power เป็นจำนวนของกำลังที่มีอย่างต่อเนื่อง วัดในหน่วยเป็นวัตต์(watts) ที่เพาเวอร์แอมป์สามารถผลิตออกมาได้ เรียกกันว่าเป็นกำลังแบบ Root Mean Square(RMS) กำลัง RMS ที่สูงกว่าหมายถึงความสะอาดของเสียงเพลงจะมีมากกว่าแม้ในระดับความดังสูงๆ
RMS Power vs. Peak Power เป็นจำนวนความต่อเนื่องของกำลัง ที่วัดต์ในหน่วยเป็นวัตต์(Watts) ที่เพาเวอร์แอมป์สามารถผลิตออกมาได้ เรียกกันว่า กำลัง RMS ดังนั้นกำลัง RMS ที่มากๆย่อมหมายถึงเสียงดนตรีที่กระหึ่มและสะอาดชัดไม่รกหู เมื่อต้องเลือกใช้เพาเวอร์แอมป์ ตัวเลขที่เป็น RMS คือข้อมูลสำคัญในการพิจารณา นอกจากนี้ ผู้ผลิตบางรายจะใช้การคำนวณกำลังวัตต์ RMS ในตัวเพาเวอร์แอมป์จากกำลังไฟที่ป้อนจ่าย ตัวอย่างเช่น เพาเวอร์แอมป์เครื่องหนึ่งมีกำลังวัตต์ 100 W-RMS ที่ไฟ 12 โวลท์ ซึ่งสามารถให้กำลังที่มากกว่า 100 W-RMS ขึ้นไปอีกเมื่อใช้กับไฟ 14.4 โวลท์ บ่อยครั้งที่ผู้ผลิตเครื่องเสียงรถยนต์ จะแสดงข้อมูลกำลังวัตต์แบบสูงสุด(Peak Power)เอาไว้ในคู่มือเครื่อง ซึ่งข้อมูลกำลังวัตต์สูงสุดนี้บอกให้ทราบถึงกำลังวัตต์มากที่สุดที่เพาเวอร์แอมป์สามารถจ่ายออกมาได้ ในขณะที่เสียงดนตรีมีการพุ่งขึ้นอย่างเฉียบพลัน เช่นการหวดกลองสแนร์แบบรวดเร็ว และเมื่อพิจารณาทั้งหมดแล้วกำลังวัตต์ RMS จะมีลำดับความสำคัญอย่างมาก
RMS Power at 2 ohms เป็นข้อมูลที่จะบอกให้ทราบว่า มีกำลังมากเพียงใดที่เพาเวอร์แอมป์สามารถจ่ายได้เมื่อต่อสเตอริโอที่ 2 โอห์ม โหลด 2 โอห์มทำได้ด้วยการต่อลำโพง 4 โอห์ม 2 ชุดขนานกัน หรือใช้ลำโพงที่มีอิมพีแดนซ์ 2 โอห์มโดยตรง ตามทฤษฎีพื้นฐาน เอาท์พุทของเพาเวอร์แอมป์ทั่วไปสามารถรับอินพีแดนซ์ที่ต่ำกว่า 1 เท่า จากอิมพีแดนซ์ปกติ 4 โอห์มจะรับได้ถึง 2 โอห์ม แต่ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของภาคจ่ายไฟที่จะสามารถจ่ายกระแสได้เพิ่มขึ้นด้วยหรือเปล่าด้วย ถ้ากระแสไม่เพิ่มกำลังวัตต์ก็ไม่เพิ่มขึ้นเช่นกัน
Damping Factor เป็นความสามารถของเพาเวอร์แอมป์ในการควบคุมการเคลื่อนที่ของลำโพง ค่าแดมปิ้งที่สูงกว่าหมายถึงการให้ความแม่นยำได้ดีกว่า ค่าแดมปิ้งเฟคเตอร์ได้มาจากการหารอิมพีแดนซ์ของลำโพงด้วยอิมพีแดนซ์ที่เอาท์พุทของเพาเวอร์แอมป์ แดมปิ้งเฟคเตอร์ของเพาเวอร์แอมป์จะลดลงเมื่ออิมพีแดนซ์ของลำโพงต่ำลง นั่นหมายถึงว่าเพาเวอร์แอมป์ที่ทำงานกับอิมพีแดนซ์ 4 โอห์มจะให้เสียงเบสได้แน่นหนักกว่า 2 โอห์ม
Frequency Response เป็นขอบเขตของเสียง จากย่านต่ำสุดถึงสูงสุด ที่อุปกรณ์เครื่องเสียงสเตอริโอนั้นๆสามารถทำได้ มีหน่วยวัดเป็น เฮิร์ต(Hz) ขอบเขตที่กว้างมากจะดีกว่า โดยย่านต่ำจะเป็นส่วนของเสียงเบสและย่านสูงจะเป็นส่วนของเสียงแหลม มนุษย์เราสามารถรับรู้เสียงได้จาก 20 ถึง 20,000 Hz โน้ตเสียงตัวต่ำของกีต้าร์เบสจะอยู่ที่ประมาณ 41 Hz เสียงนักร้องชายจะอยู่ในช่วงระหว่าง 100 และ 500 Hz เสียงตีแฉจะอยู่ในช่วงประมาณ 15,000 Hz
Ampere เป็นหน่วยวัดกระแสหรือไฟฟ้าที่ไหลผ่านวงจร โดยอาจเรียกสั้นๆว่า แอมป์ (Amp) และไม่ควรนำไปใช้สับสนกับคำว่า แอมปลิไฟล์เออร์ (Amplifier) ที่มักเรียกสั้นๆว่า แอมป์ (Amp) เหมือนกัน
Bridged Power เมื่อคุณบริดจ์กำลังที่เพาเวอร์แอมป์ นั่นหมายถึงการรวมกำลังขับของทั้งสองแชนแนลให้กลายเป็นหนึ่งแชนแนล การบริดจ์กำลังจะสามารถขับดันลำโพงได้ในกำลังวัตต์ที่มากกว่ากำลังวัตต์ปกติของสองแชนแนลรวมกัน
Classes of Amplifiers คนทั่วไปมักคิดว่าเพาเวอร์แอมป์จะให้การทำงานเต็ม 100% เมื่อป้อนสัญญาณเข้าไป แต่ในความจริงเพาเวอร์แอมป์มีการสลายกำลัง(ในรูปแบบของความร้อน) และมีความผิดเพี้ยนในระดับสัญญาณเสียง เป็นปัจจัยหลักสองปัจจัยที่มีผลกับประสิทธิภาพทำงานของเพาเวอร์แอมป์ การออกแบบวงจรเพาเวอร์แอมป์จึงต้องเลือกระดับชั้นในการทำงานของเพาเวอร์แอมป์ และแต่ละระดับชั้นนั้นก็มีคุณสมบัติที่เป็นประสิทธิภาพเฉพาะตัว
Class A amplifiers ถูกกำหนดไว้เพื่อคุณภาพของเสียงที่สูงสุด แต่ด้วยเหตุที่มันมีโครงสร้างพื้นฐานเป็นทรานซิสเตอร์ทั้งหมด เพาเวอร์แอมป์คลาส-เอจึงไร้ประสิทธิผลและร้อนในขณะทำงาน เพราะว่าแม้ในขณะที่ไม่มีสัญญาณเสียงป้อนเข้ามา ทรานซิสเตอร์เอาท์พุทก็ยังคงมีกระแสไหลผ่านตัวมันตลอด กระแสที่ไหลผ่านตลอดเวลานี้เองที่ทำให้เกิดความร้อนโดยไม่จำเป็น และ สูญเสียพลังงานไปอย่างมาก เพาเวอร์แอมป์ในยุคหลังๆจึงมักใช้วงจรคลาส-เอที่เป็นวงจรผสมของ Class A/Class AB เพื่อลดปัญหาความร้อน
Class AB amplifiers เป็นการออกแบบ ที่ยอมให้เอาท์พุททรานซิสเตอร์มีกระแสไหลผ่าน ขณะที่ไม่มีสัญญาณเสียงป้อนเข้ามา ในระดับต่ำมากๆ จึงให้ประสิทธิผลที่มากกว่าคลาส-เอ โดยที่มีความผิดเพี้ยนต่ำและมีความน่าเชื่อถือสูง
Class D amplifiers เป็นการใช้เอาท์พุทรานซิสเตอร์ทำงานแทนสวิทช์ เพื่อควบคุมการป้อนจ่ายกำลัง โดยทรานซิสเตอร์จะหยุดทำงานเมื่อมีแรงดันไฟปริมาณมากๆตกคร่อมอยู่ที่ตัวมัน วงจรครลาส-ดีจึงให้ประสิทธิผลสูงสุด การทำงานมีความร้อนต่ำสุด และให้การไหลของกระแสได้มากกว่าวงจรคลาส-เอบี เพาเวอร์แอมป์คลาส-ดีจะมีความผิดเพี้ยนสูงกว่าคลาส-เอบี เนื่องจากการปิด/เปิดอย่างรวดเร็วของทรานซิสเตอร์ แต่ก็มักเกิดขึ้นที่ย่านความถี่สูง ดังนั้นโดยปกติมักจะใช้การกรองความถี่ให้ผ่านเฉพาะย่านความถี่ต่ำมาใช้งาน
Class T amplifiers เป็นการใช้การจัดเรียงคลื่นเสียง โดยใช้ข้อเด่นของวงจรคลาส-เอบี ผสมเข้ากับประสิทธิภาพทางกำลังที่สูงและการทำงานที่มีความร้อนน้อยของคลาส-ดี เพาเวอร์แอมป์คลาส-ทีจึงสามารถให้กำลังวัตต์ที่สูงกว่าเป็น 2-4 เท่าตัว เมื่อเทียบกันในขนาดเท่าๆกันของเพาเวอร์แอมป์คลาส-เอบี
ตัวอย่าง สเปคของพาวเวอร์แอมป์ DLS XM40 บอกถึงรายละเอียดต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ด้านบนครบถ้วน
* Number of channels 4
* Amplifier class AB
* Peak power 4 x 100 Watt
* Output power in 2 ohm 4 x 80 Watt
* Output power in 4 ohm 4 x 56 Watt @ 1% THD, 4 x 50 Watt @ 0,05% THD
* Mono bridge mode 4 ohm 2 x 170 Watt
* Damping factor >80 * S/N ratio, A-weighted >90 dB
* Frequency range 20 Hz – 30 kHz
* Input sensitivity 0,25 – 5 Volt
* Input impedance 22 kohm
* Input impedance, high level 220 ohm
* High level input with auto start Yes
* Remote bass level control No
* Low level output No
* Remote phase shift control No
* Low pass filter 50 – 500 Hz ( Ch 1,2,3,4)
* High pass filter 50 – 500 Hz (Ch 1,2,3,4)
* Grand bass filter Bass EQ @ 50 Hz: +6db / +12 dB
* Power consumption (idle) 0,5 A
* Power consumption (max) 50 A
* Rec. power cable 16 sq mm ( 5 AWG)
* Fuses 2 x 25 A
* Dimension (W x D x H) 189 x 322 x 46 mm (7,44″ x 12,67″ x 1,81″)
* Weight 3 kg